วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การวัดด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)

พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)


เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด หรือพฤติกรรมทางด้านสมองของบุคคล ในอันที่ทำให้มีความเฉลียวฉลาด มีความสามารถในการคิดเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา การเรียนการสอนในปัจจุบันยังเน้นในด้านนี้มากพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย แบ่งได้เป็น 6 ระดับ ได้แก่

          1. ความรู้ความจำ เป็นความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่าง ๆ จากการที่ได้รับรู้ไว้และระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการ เปรียบดังเทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์ที่สามารถเก็บเสียงและภาพของเรื่องราวต่าง ๆ ได้ สามารถเปิดฟัง หรือ ดูภาพเหล่านั้นได้ เมื่อต้องการ
คำถาม  หน่วยประมวลผล  เรียกอีกชื่อคือข้อใด
ก.     CPU
ข.     GPU
ค.     ICU
ง.      PPU

          2. ความเข้าใจ เป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อได้ และสามารถแสดงออกมาในรูปของการแปลความ ตีความ คาดคะเน ขยายความ หรือ การกระทำอื่น ๆ
คำถาม  ตามแนวโน้มทางประวัติศาสตร์  เมืองหลวงอนาคตของไทยควรเป็นเมืองใด
ก.      ชลบุรี
ข.      สระบุรี
ค.     อ่างทอง
ง.      นครราชสีมา
3. การนำความรู้ไปใช้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้ เช่น นำหลักของการใช้ภาษาไทยไปใช้สื่อความหมายในชีวิตประจำวันได้ถูกต้องและเหมาะสม
คำถาม  อุปกรณ์ชนิดใดที่เปลี่ยนแปลงพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า
ก.      ตู้เย็น
ข.      พัดลม
ค.     มอเตอร์
ง.      ไดนาโม

 4. การวิเคราะห์ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถคิด หรือ แยกแยะเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้ และมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน
คำถาม  อะไรคือสาเหตุสำคัญของความอ้วน 
ก.      การพักผ่อน
ข.      การกินอาหาร
ค.     การออกกำลังกาย
ง.      การเผาผลาญอาหารของร่างกาย

          5. การสังเคราะห์ ขั้นนี้เป็นความสามารถในการที่ผสมผสานย่อย ๆ เข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่สมบูรณ์และดีกว่าเดิม อาจเป็นการถ่ายทอดความคิดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย การกำหนดวางแผนวิธีการดำเนินงานขึ้นใหม่ หรือ อาจจะเกิดความคิดในอันที่จะสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นนามธรรมขึ้นมาในรูปแบบ หรือ แนวคิดใหม่
คำถาม ข้อความใดอธิบายเรื่องการเคลื่อนที่ของรถไฟที่ใช้แรงดันไอน้ำได้ชัดเจนที่สุด  ?
ก.      ทางแล่นของรถไฟ
ข.      ทิศทางการพุงของลูกธนู
ค.     น้ำไหลจากที่สูงลงมาสู่ที่ต่ำ
ง.      การหมุนเวียนของแรงดันอากาศ

          6. การประเมินค่า เป็นความสามารถในการตัดสิน ตีราคา หรือ สรุปเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ออกมาในรูปของคุณธรรมอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นไปตามเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับก็ได้
คำถาม  วรรณคดีเรื่องใด  มีเนื้อเรื่องใกล้เคียงกับสภาพเป็นจริงของมนุษย์
ก.      สามก๊ก
ข.      สังข์ทอง
ค.     รามเกียรติ์
ง.      ขุนช้างขุนแผน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น